วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556




1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
ปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตมีสูง ผู้บริโภคในปัจจุบันก็มีความต้องการ
สินค้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ระบบการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้ นและทัน ต่อความต้องการ โดยการน าเครื่องจักร
อัตโนมัติเข้ามาใช้แทนแรงงานคนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็ว
และทันต่อความต้องการของตลาด ทั้งนี้เนื่องมาจากเครื่องจักรอัตโนมัติมีความสามารถในการผลิต
สูง มีความสะดวกรวดเร็วรวมทั้งมีระบบการควบคุมความผิดพลาดในการท างาน จากที่ได้กล่าวใน
ข้างต้น การน าเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในระบบผลิต จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมต้นทุนการ
ผลิต ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการท างาน และสามารถ ผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของ
ผู้บริโภคได้มากขึ้น
เครื่องจักรอัตโนมั ติที่น ามาใช้ในการ ขนส่ง มีหลายประเภท รถขนส่งวัสดุอัตโนมัติ
Automated Guided Vehicles (AGV) เป็นเครื่องจักร ประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ดังที่แสดง
ตัวอย่างในภาพที่ 1.1 ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถFork liftความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะ
ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกก าหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จ าเป็น ต้อง
ใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV จ าเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก ทั้ง
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการควบคุม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการ ติดตั้งเส้นทางการ
วิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังส ายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ
ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้ค า สั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ
ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน ของรถ AGV หรือเพื่อ
ป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGV อีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ ข้อดีอีกประการ
หนึ่งของการใช้งานรถ AGV ได้แก่ การเพิ่มผลผลิต การลด ระยะเวลาที่สูญเสียในระบบ และก าร2
ปรับเปลี่ยนสายการผลิตในโรงงานเมื่อต้องท าการผลิตชิ้นงานที่มีกระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงไป
ให้สามารถท าได้ง่ายขึ้น โดยการเปลี่ยน แปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมรถ AGV
เท่านั้น ข้อจ ากัดของ รถ AGV คือเงินลงทุนที่สูงในการติดตั้งรถ AGV และต้องใช้คนที่มี
ความสามารถในการควบคุมระบบการท างานของรถ AGV อีกด้วย
การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถท าได้ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มจ านวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV
ซึ่งแต่ละวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของรถ AGV จะมีข้อจ ากัดในตัวเอง เช่น
การเพิ่มจ านวนรถ AGV จะต้องมีการลงทุนสูง เกิดความแออัดในระบบมากขึ้น การเพิ่มความเร็ว
ของรถก็เป็นเรื่องที่สามารถกระท าได้ แต่อาจส่ งผลกระทบต่อการควบคุมความปลอดภัย ในการ
ท างาน การเปลี่ยนแปลง ทิศทางการวิ่งจากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง ก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการ
ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ ในการควบคุม ส่วนการเพิ่มความจุบน รถ AGV ถึงแม้
จะต้องลงทุนบ้าง แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถที่จะท าได้
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการท างานของรถ AGV
แต่การ เพิ่มประสิทธิภาพของรถ AGV เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบการผลิต การจะเพิ่ม
ประสิทธิภาพของระบบการผลิตนั้นระบบการขนส่งชิ้นงานก็เป็นสิ่งส าคัญเช่นกัน การเลือกวิธีการ
ขนส่งของรถ AGV ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหยิบชิ้นงานหรือการวางชิ้นงานจะท าให้สามารถผลิตสินค้า
ได้มากขึ้น เนื่องจากการเลือกวิธีการหยิบและ การวางชิ้นงานที่เหมาะสมจะท าให้เราสามารถลด
ระยะเวลารอคอยของชิ้นงาน และยังสามารถป้องกันการเกิดคอขวดต ามสถานีต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงเลือก ศึกษา 4 ปัจจัยหลักคือการเลือกใช้กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงาน
กฎเกณฑ์การวางชิ้นงานของรถ AGV การเลือกความจุของรถ AGV และการเลือกใช้จ านวนรถ
AGV ในระบบการผลิต


ภาพที่ 1.1 ตัวอย่างของรถ AGV3
1.2 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงขนาดรถและกฎเกณฑ์ในการควบคุม รถ AGV ที่
ส่งผลกระทบต่อค่าวัดประสิทธิภาพของระบบการผลิต
1.3 ขอบเขตของงานวิจัย
ขนาดรถในที่นี้หมายถึง ความจุของรถ AGV แต่ละคัน และจ านวนรถ AGV ที่ใช้ในระบบ
ส่วนกฎเกณฑ์ในการควบคุมรถ AGV หมายถึง กฎเกณฑ์ในการวางชิ้นงานที่สถานีงาน และ
กฎเกณฑ์ในการหยิบชิ้นงานจากสถานีขึ้นวางบนรถ AGV โดยระดับขนาดรถและกฎเกณฑ์ที่ใช้ใน
การศึกษานี้มีดังนี้
1) กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงาน (Pick-up Rule) มี 2 กฎเกณฑ์ ได้แก่
(1) First Come First Serve (FCFS)
(2) Shortest Processing Next Station Time (SPNT)
2) กฎเกณฑ์การวางชิ้นงาน (Drop-off Rule) มี 2 กฎเกณฑ์ ได้แก่
(1) First Come First Serve (FCFS)
(2) Shortest Processing Next Station Time (SPNT)
3) จ านวนรถ AGV มี3ระดับ ได้แก่
(1) 3คัน
(2) 4คัน
(3) 5 คัน
4) ความจุของรถ AGV โดยมีความจุของชิ้นงานไม่เกิน 5 ชิ้น มี 3ระดับ ได้แก่
(1) 3 ชิ้น
(2) 4 ชิ้น
(3) 5 ชิ้น
ในการศึกษานี้มีปัจจัยควบคุม 4 ประการคือ
1) กฎเกณฑ์การเลือกใช้งานรถ AGV คือShortest Distance (SD)
2) กฎเกณฑ์การควบคุม รถ AGV วิ่ง 2 ทิศทาง (Bidirectional) เพียงกฎเกณฑ์เดียว คือ
กฎเกณฑ์ Next and NextNext
3) กฎเกณฑ์การป้องกัน Dead Lock เป็นแบบจุดหลบ N+1 และค านวณแบบสถานี S+1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น