วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556




1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
ปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตมีสูง ผู้บริโภคในปัจจุบันก็มีความต้องการ
สินค้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ระบบการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้ นและทัน ต่อความต้องการ โดยการน าเครื่องจักร
อัตโนมัติเข้ามาใช้แทนแรงงานคนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็ว
และทันต่อความต้องการของตลาด ทั้งนี้เนื่องมาจากเครื่องจักรอัตโนมัติมีความสามารถในการผลิต
สูง มีความสะดวกรวดเร็วรวมทั้งมีระบบการควบคุมความผิดพลาดในการท างาน จากที่ได้กล่าวใน
ข้างต้น การน าเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในระบบผลิต จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมต้นทุนการ
ผลิต ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการท างาน และสามารถ ผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของ
ผู้บริโภคได้มากขึ้น
เครื่องจักรอัตโนมั ติที่น ามาใช้ในการ ขนส่ง มีหลายประเภท รถขนส่งวัสดุอัตโนมัติ
Automated Guided Vehicles (AGV) เป็นเครื่องจักร ประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ดังที่แสดง
ตัวอย่างในภาพที่ 1.1 ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถFork liftความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะ
ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกก าหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จ าเป็น ต้อง
ใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV จ าเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก ทั้ง
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการควบคุม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการ ติดตั้งเส้นทางการ
วิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังส ายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ
ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้ค า สั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ
ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน ของรถ AGV หรือเพื่อ
ป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGV อีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ ข้อดีอีกประการ
หนึ่งของการใช้งานรถ AGV ได้แก่ การเพิ่มผลผลิต การลด ระยะเวลาที่สูญเสียในระบบ และก าร2
ปรับเปลี่ยนสายการผลิตในโรงงานเมื่อต้องท าการผลิตชิ้นงานที่มีกระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงไป
ให้สามารถท าได้ง่ายขึ้น โดยการเปลี่ยน แปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมรถ AGV
เท่านั้น ข้อจ ากัดของ รถ AGV คือเงินลงทุนที่สูงในการติดตั้งรถ AGV และต้องใช้คนที่มี
ความสามารถในการควบคุมระบบการท างานของรถ AGV อีกด้วย
การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถท าได้ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มจ านวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV
ซึ่งแต่ละวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของรถ AGV จะมีข้อจ ากัดในตัวเอง เช่น
การเพิ่มจ านวนรถ AGV จะต้องมีการลงทุนสูง เกิดความแออัดในระบบมากขึ้น การเพิ่มความเร็ว
ของรถก็เป็นเรื่องที่สามารถกระท าได้ แต่อาจส่ งผลกระทบต่อการควบคุมความปลอดภัย ในการ
ท างาน การเปลี่ยนแปลง ทิศทางการวิ่งจากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง ก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการ
ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ ในการควบคุม ส่วนการเพิ่มความจุบน รถ AGV ถึงแม้
จะต้องลงทุนบ้าง แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถที่จะท าได้
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการท างานของรถ AGV
แต่การ เพิ่มประสิทธิภาพของรถ AGV เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบการผลิต การจะเพิ่ม
ประสิทธิภาพของระบบการผลิตนั้นระบบการขนส่งชิ้นงานก็เป็นสิ่งส าคัญเช่นกัน การเลือกวิธีการ
ขนส่งของรถ AGV ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหยิบชิ้นงานหรือการวางชิ้นงานจะท าให้สามารถผลิตสินค้า
ได้มากขึ้น เนื่องจากการเลือกวิธีการหยิบและ การวางชิ้นงานที่เหมาะสมจะท าให้เราสามารถลด
ระยะเวลารอคอยของชิ้นงาน และยังสามารถป้องกันการเกิดคอขวดต ามสถานีต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงเลือก ศึกษา 4 ปัจจัยหลักคือการเลือกใช้กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงาน
กฎเกณฑ์การวางชิ้นงานของรถ AGV การเลือกความจุของรถ AGV และการเลือกใช้จ านวนรถ
AGV ในระบบการผลิต


ภาพที่ 1.1 ตัวอย่างของรถ AGV3
1.2 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงขนาดรถและกฎเกณฑ์ในการควบคุม รถ AGV ที่
ส่งผลกระทบต่อค่าวัดประสิทธิภาพของระบบการผลิต
1.3 ขอบเขตของงานวิจัย
ขนาดรถในที่นี้หมายถึง ความจุของรถ AGV แต่ละคัน และจ านวนรถ AGV ที่ใช้ในระบบ
ส่วนกฎเกณฑ์ในการควบคุมรถ AGV หมายถึง กฎเกณฑ์ในการวางชิ้นงานที่สถานีงาน และ
กฎเกณฑ์ในการหยิบชิ้นงานจากสถานีขึ้นวางบนรถ AGV โดยระดับขนาดรถและกฎเกณฑ์ที่ใช้ใน
การศึกษานี้มีดังนี้
1) กฎเกณฑ์การหยิบชิ้นงาน (Pick-up Rule) มี 2 กฎเกณฑ์ ได้แก่
(1) First Come First Serve (FCFS)
(2) Shortest Processing Next Station Time (SPNT)
2) กฎเกณฑ์การวางชิ้นงาน (Drop-off Rule) มี 2 กฎเกณฑ์ ได้แก่
(1) First Come First Serve (FCFS)
(2) Shortest Processing Next Station Time (SPNT)
3) จ านวนรถ AGV มี3ระดับ ได้แก่
(1) 3คัน
(2) 4คัน
(3) 5 คัน
4) ความจุของรถ AGV โดยมีความจุของชิ้นงานไม่เกิน 5 ชิ้น มี 3ระดับ ได้แก่
(1) 3 ชิ้น
(2) 4 ชิ้น
(3) 5 ชิ้น
ในการศึกษานี้มีปัจจัยควบคุม 4 ประการคือ
1) กฎเกณฑ์การเลือกใช้งานรถ AGV คือShortest Distance (SD)
2) กฎเกณฑ์การควบคุม รถ AGV วิ่ง 2 ทิศทาง (Bidirectional) เพียงกฎเกณฑ์เดียว คือ
กฎเกณฑ์ Next and NextNext
3) กฎเกณฑ์การป้องกัน Dead Lock เป็นแบบจุดหลบ N+1 และค านวณแบบสถานี S+1

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย แบบสตาร์

1. แบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง
ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป
ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้
ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที





ข้อดี
      1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
      2. เนื่องจากการรับ ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
      3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
      4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
      5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย


ข้อเสีย
      1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
      2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
      3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
      4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง



วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่3


บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
                ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide  ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide  ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย  ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ  ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล  การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้  ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา  แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก  ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
ตัวอย่าง
ประโยชน์อินเทอร์เน็ตชุมชน เกิด เมื่อชาวบ้านเข้าถึงได้จริง
                การเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนอื่นๆ ได้เข้าถึงด้วย เนื่องจากในประเทศที่พัฒนาแล้วและอินเทอร์เน็ตเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นค่อนข้างเสรี และผู้คนในประเทศนั้น มีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คอีเมล์ เล่นเกมส์ ดูวิดีโอคลิปในยูทูว์ป (www.youtube.com) ไปจนถึงขั้นเล่นพนันออนไลน์กันเลยทีเดียว แต่ในบางประเทศ อินเทอร์เน็ตถูกจำกัดสิทธิให้มีไว้เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลบางอย่างโดยเฉพาะเท่านั้น เช่น การร้องขอข้อมูลจากรัฐบาล หรือการขอใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
                ขณะที่ ในประเทศที่ด้อยพัฒนาหลายแห่ง อินเทอร์เน็ตไม่ใช่แม้แต่สิทธิพื้นฐานของประชาชนด้วยซ้ำ IT Digest ได้รับข้อมูลจาก บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ที่พอจะสะท้อนให้เห็นภาพถึงการนำเอาอินเทอร์เน็ตเข้าไปในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความสุข และความสะดวกสบายของประชาชนในท้องถิ่ม ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยตัวอย่างการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศโลกที่ 3 ที่น่าสนใจมานำเสนอ ได้แก่
                1. ในรัฐ Madhya Pradesh ใจกลางประเทศอินเดีย ผู้หญิงชาวบ้านคนหนึ่งกำลังเดินทางไปหา soochak หรือผู้จัดการร้านอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเธอต้องการร้องเรียนเรื่อง ปัญหาของบ่อน้ำในหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำมานาน หลังจากรับเรื่อง soochak ได้ใช้เครื่องพีซีในร้านป้อนคำร้องลงในแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ และอัพโหลดข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ท้องถิ่น เพื่อส่งตรงไปถึงผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยทันที
                2. ในกรุงลิม่า ประเทศเปรู คุณแม่คนหนึ่งต้องการที่จะติดต่อข้ามประเทศ ไปหาลูกที่พักอยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาเพื่อขอเงินค่ารักษาพยาบาลโดยด่วน เธอจึงดินทางไปที่ “cabina pública” หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชนขนาดย่อม เพื่อติดต่อกับลูกผ่านทางโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ VoIP โดยเสียค่าบริการโทรข้ามประเทศราคาถูก เพียงนาทีละ 30 เซนต์เท่านั้น
                3. ในประเทศฮังการี พรานล่ากระต่ายต้องการขอใบอนุญาตรับเมล็ดข้าวโพดไปปลูกจากรัฐบาล เขาติดต่อไปที่ János ที่เป็น teleház operator เพื่อให้ช่วยขอใบอนุญาตดังกล่าวจากรัฐบาล ผ่านทางเว็บไซต์ เมื่อดำเนินการเสร็จ โดยเขาจะมีข้าวโพดมากพอมาเป็นอาหารให้กระต่ายได้ทันในฤดูหนาว และอ้วนท้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะถูกล่าในฤดูใบไม้ผลินั่นเอง
                เมื่อได้เห็นตัวอย่างจากต่างประเทศแล้ว ลองมองย้อนกลับมาที่ การใช้อินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดของไทยบ้าง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ
                1. ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด คือ ผ้าไหมและข้าวหอมมะลิ ที่ก่อนหน้านี้สินค้าทั้ง 2 ชนิด เป็นสินค้าในชุมชน ผลิตใช้กันเองในหมู่บ้าน อาจมีการส่งขายไปนอกจังหวัดบ้าง ก็มีจำนวนไม่มาก หนำซ้ำยังมีปัญหาเรื่องของการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง แต่หลังจากที่มีโครงการ OTOP พร้อมด้วยระบบอินเทอร์เน็ต จึงทำให้สินค้า OTOP ของจังหวัดกาฬสินธุ์มีชื่อมากขึ้น ที่สำคัญ อินเทอร์เน็ตยังทำให้ชาวบ้าน สามารถขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภคได้ทันที ช่วยประหยัดต้นทุน และมีกำไรเพิ่มอีกด้วย
                2. ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้ส่งผลกระทบถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังมีผลถึงระบบเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย โดยเฉพาะสินค้างานฝีมือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อันเนื่องจากวิถีชีวิตที่ไม่สงบสุข ภาครัฐเองก็กำลังหาวิธีต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็วที่สุด หนึ่งในวิธีการหลายๆ ทางก็ คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้าไปช่วยในการแนะนำสินค้า รวมถึงการซื้อ-ขายออนไลน์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการนำสินค้ามาขายนอกหมู่บ้านไม่ได้ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดง
                3. ไม่ค่อยมีโอกาสมากนัก ที่คุณป้าทองดี สุภาพตรีคนหนึ่งจากอำเภอสอง จังหวัดแพร่ จะได้พูดคุยไต่ถามสารทุกข์สุขดิบกับหลานชาย ที่ได้รับทุนไปเรียนต่อไกลถึงประเทศอินเดีย วิธีเดียวที่ทำได้ก็คือส่งจดหมาย ที่อาจใช้เวลานานหลายอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นเดือน กว่าจะได้รับจดหมายตอบกลับ แต่ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่มีคนแนะนำให้ใช้ ทำให้คุณป้าทองดี สามารถคุยกับหลานชายได้บ่อยและเร็วเท่าที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล์ โปรแกรม MSN หรือคุยแบบสดๆ ผ่านทาง Google Talk หรือสไค้ฟ (Skype) ก็ได้แล้วแต่โอกาสจะอำนวย
                จากกรณีตัวอย่างทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ในประเทศที่ด้อยพัฒนานั้น ก็สามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่ คุณค่าของอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ความสามารถในการนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ที่สำคัญกว่านั้น ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง ก็สามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน
                แต่ในความเป็นจริง ทั่วโลกมีประชากรเพียง 10% เท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ประชากรเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมที่ทันสมัย หรือ ถ้าอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ก็มักมีฐานะร่ำรวยและการศึกษาดี และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มาจากครอบครัวที่ยากจนและไม่ได้รับการศึกษา
                การแบ่งแยกกันระหว่างประชาชนที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอลได้ กับไม่ได้ เรามักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า การแบ่งแยกทางดิจิตอล (digital divide) เป็นการแบ่งที่ไม่ได้แสดงถึงปัญหาอันซับซ้อนที่แท้จริง เพราะมัวแต่มุ่งไปที่การ "มี" หรือ "ไม่มี" เทคโนโลยี ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีเทคโนโลยีนั้น อยู่ที่บ้านเป็นของเราเอง
                ในโลกที่กำลังพัฒนา อินเทอร์เน็ตสาธารณะกลายเป็นเครื่องมือที่มาเติมเต็ม และช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อินเทอร์เน็ตสาธารณะแตกต่างจากร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่มีผู้คนมักเข้าไปเช็คอีเมล์ หรือเล่นเกมออนไลน์ อย่างที่ทุกคนสามารถเห็นได้ดาษดื่นในเมืองใหญ่ๆ ทั่วไป แต่อินเทอร์เน็ตสาธารณะมีไว้เพื่อช่วยให้พื้นฐานในการดำรงชีวิตของชุมชนง่ายขึ้นเป็นสำคัญ
                จากกรณีตัวอย่าง cabina pública และ teleház ต่างก็มีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของอุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการให้บริการ อย่างไรก็ตาม สถานที่ทั้ง 2 แห่งต่างก็มีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อชุมชนนั้นๆ เจ้าของกิจการจะต้องพึ่งพิงอยู่กับสายสัมพันธ์ทางชุมชน และจะต้องรู้จักนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางกรณีอาจต้องร่วมมือกัน เพื่อนำเอาเทคโนโลยีใดๆ ที่ใช้ได้ มาประยุกต์ใช้ให้ตรงความต้องการของชุมชนนั้นๆ แน่นอนว่า ความต้องการนี้ก็มักจะแตกต่างจากชุมชนที่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
                ส่วนในประเทศไทย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงข้อมูลความรู้แบบดิจิตอล ด้วยระบบไอทีให้กระจายไปยังชุมชนทั่วประเทศได้เร็วขึ้น บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไทย ที่ดำเนินการภายใต้สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) เปิดตัวโครงการ “Community e-Center: ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนที่ประกอบด้วยชุดคอมพิวเตอร์ รวมถึงซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการดูแลรักษา และการฝึกอบรมบุคลากรที่เป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ
                ทั้งหมดนี้ รวมเข้าด้วยกันแบบเบ็ดเสร็จ นำเสนอให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในชุมชนต่างๆ ในราคาพิเศษ เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในชุมชนได้ง่ายขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น ปัจจุบันนักพัฒนาได้สร้างสรรค์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นที่ "จำเป็น" ต้องใช้เทคโนโลยีได้แล้ว และกำลังมองหาหนทางที่จะนำเอาเทคโนโลยีที่มีเข้าไปประยุกต์ใช้ใน ชุมชนที่เห็นว่า "ไม่จำเป็น" ต้องใช้ และในอนาคตอาจมีการออกแบบให้ตรงความต้องการมากขึ้น และมุ่งไปที่ความต้องการของบุคคลที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เป็นหลัก
                ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า หนึ่งในภารกิจของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่เป็นการกระจายโอกาส และทำให้ท้องถิ่นในต่างจังหวัดพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีไอซีที ตัวอินเทอร์เน็ตชุมชน ทั้งที่อยู่ใน ตำบล โรงเรียน วัด และศูนย์กลางในชุมชน ที่ได้ดำเนินการไปเมื่อหลายปีก่อน ได้มีการประเมินผลหรือไม่ว่า ประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นได้ใช้ประโยชน์จริง หรืออำนวยความสะดวกเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมระหว่าง ภาครัฐและภาคประชาชนจริง การที่จะพัฒนาประเทศเข้าสู่ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government เจ้าของเงินภาษีได้รู้จัก หรือทราบหรือไม่ว่าสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
                การมีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ ควรต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากๆ เกี่ยวกับประโยชน์ และวิธีใช้ ที่ถูกต้อง ไม่ใช้เอาไปดูเว็บโป๊ เล่นเกม หรือดาวน์โหลดเพลง หรือหนังเถื่อน เมื่อประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึง และได้ใช้ประโยชน์จริงๆ แต่ปัญหาทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าชาวบ้านในหลายชุมชนยังไม่ได้เข้าถึงอย่างจริงจัง แม้จะมีเครื่องพีซีต่อบรอดแบนด์ตั้งอยู่ตรงหน้า แต่ถ้าใช้ไม่เป็น หรือไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ก็ไม่มีความหมายที่จะมีอยู่ เพราะมีความเข้าถึง แต่ไม่เข้าใจนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
                ในแต่ละชุมชนถ้ามีการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตกัน ก็จะช่วยเพิ่งความรู้ให้กับคนในชุมชนนั้นๆ หากว่าพวกเขาใช้ประโยชน์จากสัญญาณอินเตอร์เน็ตในทางที่ถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา ก็จะยิ่งดีสำหรับพวกเขาเอง เพราะหากมีข่าวสารอะไรที่ยังไม่ได้ดูหรือรับข่าวสาร ก็สามารถที่จะใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ต้องการดูย้อนหลังหรือดูแบบออนไลน์ได้ ถึงที่นี่คนในชุมชนก็สามารถรู้เรื่องถึงบ้านเมืองของตนว่าขณะกำลังเกิดอะไรขึ้น และทำให้ทุกคนที่ใช้สัญญาณก็จะไม่ตกเทรนอื่นต่อไป
วิเคราะห์บทความ
                จากบทความที่ได้อ่านมา การเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นควรที่จะต้องมีการเปิดกว้างทั่วประเทศ และควรเปิดโอกาสให้ชุมชนอื่นๆได้เข้าถึงด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไหน เพื่อให้ทุกคนที่อยู่บนโลกมีการพัฒนาระดับสมองของแต่ละคนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยกัน และควรที่จะต้องพัฒนาในด้านที่ถูกต้องในการป้อนข้อมูล เพราะหากมีการป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเราเอง ดังนั้น เมื่อประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึง และได้ใช้ประโยชน์จริงๆด้วยเทคโนโลยีไอซีที ตัวอินเทอร์เน็ตชุมชน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายสถานที่ด้วยไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน วัด และศูนย์กลางในชุมชนหรือสถานที่ทุรกันดาร และอื่นๆสามรถเข้าถึงได้ ในโลกที่กำลังพัฒนา อินเทอร์เน็ตสาธารณะก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่มาเติมเต็ม และช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้ดีขึ้น และอีกอย่างควรที่จะมีการสอนวิธีการใช้เทคโนโลยีว่าควรใช้ในด้านใดบ้างถึงจะเกิดประโยชน์แก่ตนให้มากขึ้น และสังคมทุกสังคมก็มีการพัฒนาตนเองไปตลอด
ข้อดีและข้อเสียในการใช้อินเตอร์เน็ต
ข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ต
1.เยาวชนอาจเข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ทำให้เป็นอันตรายต่อตนเองและสังคมได้
2.อาจจะที่การล้อลวงทำให้เสื่อมเสียและเป็นอันตราย
3.เมื่อใช้เป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้
4.ทำให้เสียการเรียน ถ้าหมกหมุ่นเกินไป
ข้อดีของการใช้อินเตอร์เน็ต
1.เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่คล้ายกับห้องสมุด
2.สามารถรับรู้ข่าวสานได้ทันต่อเหตุการณ์
3.มีความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

4.เป็นแหล่งซื้อขายในระบบอิเล็คทรอนิกส์

ผลกระทบต่อนักศึกษาและสังคม
                สำหรับผลกระทบต่อนักศึกษา หากไม่มีการใช้อินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถที่สืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและการทำงานต่างๆก็จะช้าลงไป เพราะการสื่อสารทางด้านเทคโนโลยีไม่มี


                ส่วนในด้านสังคมก็จะเกิดอาชญากรรม ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย เกิดความวิตกกังวลต่างๆ เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมาก และทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างล้วนแล้วมีข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่ว่าเราจะใช้มันอย่างไรถึงจะเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด และไม่ทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนเพราะการกระทำของตัวเราเอง

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายรุสดี วาลี
ชื่อเล่น ซี
ทีาอยู่ 24/2 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา 95130
เบอร็โทร 0807139211